1. Fathom เจ้าชีวิต เจ้าสรรพสิ่ง ทวิพากษ์ ลําดับที่ 1 เมาริตซิโอ เปเลจจี วริศา กิตติคุณเสรี ฟ้าเดียวกัน
พลิกประวัติศาสตร์มหาอํานาจต้าหมิง หนังสือเรียนประวัติศาสตร์ป 6 เล่ม 1 หนังสือภาษาไทยแนวประวัติศาสตร์ หนังสือสงครามโลกครั้งที่ 2 หนังสือสงครามโลกครั้งที่ 2 ปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ห้วงเวลาที่โลกกําลังก้าวเข้าสู่ภาวะสมัยใหม่ ไม่มีใครคาดคิดว่ากษัตริย์หนุ่มจากประเทศโลกที่สาม ซึ่งในสายตาชนชั้นนําสยามเวลานั้นยังไร้ซึ่งอํานาจ และในสายตามหาอํานาจก็เป็นแค่เจ้าแผ่นดินแห่ง แดนสนธยา ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม จะได้รับการต้อนรับจากราชสํานักยุโรปเยี่ยงอารยชนชาวตะวันตก นับเป็นความสําเร็จของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้แสวงหาความศิวิไลซ์โดยแท้ ที่สามารถปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชนชั้นนําราชสํานักสยามให้ทันสมัยทัดเทียมชนชั้นสูงชาวยุโรปถึงขนาดได้รับยกย่องจากสื่อตะวันตกว่าเป็น กษัตริย์รูปงามที่สุดแห่งเอเชีย หากนับจุดเริ่มต้นเมื่อคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี 2440 และได้ร่วมโต๊ะเสวยกระยาหารกับสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกขณะนั้น ครองราชย์ พ ศ 23802444 ณ ตําหนักออสบอร์นซึ่งสงวนไว้รับรองอาคันตุกะราชวงศ์ชั้นสูง ก็ต้องนับว่าความอุตสาหะของรัชกาลที่ 5 ไม่สูญเปล่า นับจากนั้นกษัตริย์แห่งสยามสามารถสานสัมพันธ์กับสมาชิกราชวงศ์ยุโรปได้อย่างไม่เคอะเขิน มองจากสายตาเจ้าอาณานิคม ในบรรดากษัตริย์แห่งดินแดนอุษาคเนย์ รัชกาลที่ 5 นับว่าเป็น มิตรผู้ภักดียิ่ง ของเจ้าจักรวรรดิ หากมองจากสายตาชนชาวสยาม เจ้าเหนือหัวผู้นี้ทั้งหัวสมัยใหม่ รุ่มรวยด้วยข้าวของหรูหรา สิ่งปลูกสร้างใหญ่โตโอฬาร และเป็นผู้จุดพลุแห่งมหรสพอันมลังเมลืองยิ่งกว่ายุคสมัยใด กล้องถ่ายรูป ภาพวาดและภาพถ่ายบุคคล เครื่องแต่งกายตามสมัยนิยม สิ่งประดิษฐ์จากโลกตะวันตก วัฒนธรรมบนโต๊ะอาหาร การเดินทางท่องเที่ยว งานเลี้ยงในราชสํานัก ซุ้มประตูตามท้องถนน สะพานข้ามคูคลอง รูปประติมากลางลานสาธารณะ กระบวนแห่ทางบกและทางน้ํา วังและตําหนักชานเมือง เหล่านี้คือวัตถุวัฒนธรรมบริโภคที่รัชกาลที่ 5 นําเข้ามาสู่สยาม รวมถึงส่งออกศิลปวัตถุวัฒนธรรมของสยามไปสู่งานนิทรรศการโลกที่กําลังเป็นที่นิยมในขณะนั้น ทําให้สยามมีที่ทางใหม่ในเวทีโลก หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งผู้เขียนได้รับทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียและกระทรวงการจ้างงาน การศึกษา และการฝึกอบรมของรัฐบาลออสเตรเลีย ขณะที่ทุนในการวิจัยภาคสนามได้รับการอุดหนุนจากภาควิชาประวัติศาสตร์ภูมิภาคแปซิฟิกและเอเชีย ประจําสํานักวิจัยด้านแปซิฟิกและเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย หลักฐานชั้นต้นได้รับการช่วยจัดเตรียมโดยโรนัลด์ มาโฮนีย์ แห่งแผนกวัสดุพิเศษ ประจําห้องสมุดเฮนรี มานน์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตทแห่งเฟรสโน, เอมี เอ เบ็กก์ แห่งห้องสมุดสถาบันสมิธโซเนียน ณ วอชิงตัน ดี ซี และแมรีส โกลเดมเบิร์ก แห่งหอสมุดประวัติศาสตร์เมืองปารีส จินตนา แซนดิแลนด์ส ให้ความช่วยเหลือในการแปลเอกสารภาษาไทย ผู้เขียนได้รับความเอื้อเฟื้อจากการให้ความเห็นต่อร่างต้นฉบับในขั้นต่างๆ โดยเบเนดิกท์ แอนเดอร์สัน, จอห์น คลาร์ก, ชาร์ลส์ คายส์, บรูซ ล็อคฮาร์ท, ธงชัย วินิจจะกูล และผู้วิจารณ์ต้นฉบับซึ่งไม่เปิดเผยชื่อประจําสํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาวายอิ ผู้เขียนเป็นหนี้บุญคุณทางปัญญาอย่างมากต่อเคร็ก เรย์โนลด์ส ผู้เป็นทั้งอาจารย์และมิตร นอกจากนี้ยังขอขอบคุณไมเคิล มอนเตซาโน และเปาลา อินโซเลีย ส่วนดายานีธาเป็นผู้ที่คอยอยู่เคียงข้างพร้อมมอบรอยยิ้มที่แสนงดงามให้ผู้เขียนเสมอ นักเขียน เมาริตซิโอ เปเลจจี เมาริตซิโอ เปเลจจี เป็นศาสตราจารย์ที่ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สอนวิชาด้านประวัติศาสตร์ศิลปะและการสร้างภาพแทนในประวัติศาสตร์ historical representation เปเลจจีจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโรมและมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และเป็นผู้เขียนหนังสือ The Politics of Ruins and the Business of Nostalgia
Bangkok: Whtie Lotus, 2002),
Thailand: The Worldly Kingdom
London: Reaktion Books, 2007 และ Monastery, Monument,
Museum: Sites and Artifacts of Thai Cultural Memory
Honolulu: University of Hawai i Press, 2017) คํานําสํานักพิมพ์ คํานําเสนอฉบับภาษาไทย กิตติกรรมประกาศ บทนํา สถาบันกษัตริย์กับสภาวะสมัยใหม่ ตอนที่ 1 วิถีปฏิบัติ บทที่ 1 วิถีการบริโภค รสนิยม และอัตลักษณ์ของชนชั้นนําสยามที่ปรับเปลี่ยนให้เป็นแบบสมัยใหม่ บทที่ 2 การนําเสนอและภาพแทนตัวตนของชนชั้นนําราชสํานัก ตอนที่ 2 พื้นที่ บทที่ 3 สนามละเล่นชานเมือง บทที่ 4 สนามแห่งความเรืองโรจน์ ตอนที่ 3 มหรสพ บทที่ 5 การปรับรูปโฉมนาฏกรรมแห่งอํานาจ บทที่ 6 บนเวทีโลก
บทส่งท้าย: สถาบันกษัตริย์กับความทรงจํา ประวัติผู้เขียน บรรณานุกรม ดรรชนี ทวิพากษ์ ลําดับที่ 1 เจ้าชีวิต
เจ้าสรรพสิ่ง: การก่อร่างภาพลักษณ์สมัยใหม่ของสถาบันกษัตริย์สยาม เมาริตซิโอ เปเลจจี เขียน วริศา กิตติคุณเสรี แปล จํานวน 352 หน้า ปลายศตวรรษที่ 19 ต่อต้นศตวรรษที่ 20 ห้วงเวลาที่โลกกําลังก้าวเข้าสู่ภาวะสมัยใหม่ ไม่มีใครคาดคิดว่ากษัตริย์หนุ่มจากประเทศโลกที่สาม ซึ่งในสายตาชนชั้นนําสยามเวลานั้นยังไร้ซึ่งอํานาจ และในสายตามหาอํานาจก็เป็นแค่เจ้าแผ่นดินแห่ง แดนสนธยา ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรม จะได้รับการต้อนรับจากราชสํานักยุโรปเยี่ยงอารยชนชาวตะวันตก นับเป็นความสําเร็จของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้แสวงหาความศิวิไลซ์โดยแท้ ที่สามารถปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์ของชนชั้นนําราชสํานักสยามให้ทันสมัยทัดเทียมชนชั้นสูงชาวยุโรปถึงขนาดได้รับยกย่องจากสื่อตะวันตกว่าเป็น กษัตริย์รูปงามที่สุดแห่งเอเชีย หากนับจุดเริ่มต้นเมื่อคราวรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี 2440 และได้ร่วมโต๊ะเสวยกระยาหารกับสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย กษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกขณะนั้น ครองราชย์ พ ศ 23802444 ณ ตําหนักออสบอร์นซึ่งสงวนไว้รับรองอาคันตุกะราชวงศ์ชั้นสูง ก็ต้องนับว